วัดสำคัญของจังหวัด (ตัวอย่างข้อมูล)

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอีสาน พระบรมธาตุที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาของนครพนมมาแต่ โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธกาลประมาณ พ.ศ.๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง ประดิษฐานอยู่บนภูกำพร้าตั้งตระหง่าน อยู่ริมฝั่งโขง เป็นสถานที่ครั้งหนึ่งพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรดสัตว์น้อยโหญ่ ตามตํานานอุรังคธาตุกล่าวถึง พระมหากัสสปะและพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นําพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากชมพูทวีปและท้าวพญาผู้ครองนครทั้ง ๕ เป็นประธาน ในการสร้างที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน องค์พระธาตุพนมได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จนเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๙ น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งอิงค์เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ และภัยพิบัติจากการเกิดฝนตกพายุพัดแรง ติดต่อกันหลายวัน ประชาชนได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่สร้างครอบฐานพระธาตุองค์เต็ม โดยรักษารูปแบบเต็ม ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น 

พุทธศาสนิกชนที่ได้มาเยี่ยมเยียนจากทั่วสารทิศทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้สืบต่อความเชื่อกันมาจากบรรพบุรุษ ว่ากันว่าหากใครได้มา นมัสการพระธาตุครบ ๗ ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม จ ครั้ง ที่ถือเป็น อานิสงส์ผลบุญยิ่งนัก

พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดแห่งเดียวบนแผ่นดินที่ราบสูง และยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ เนื่องด้วยตามตำนานบริเวณที่ตั้งของพระธาตุพนมในอดีตเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าได้ขึ้นมาหมุน แล้วมองลงไปรอบๆ ก่อนจะประกาศก้อง ว่า พื้นที่ทั่วบริเวณนี้จะเป็นที่สืบทอดและเป็นจุดเริ่มต้นพระพุทธศาสนา เสมือนกับวันอาทิตย์เป็นวันเริ่มต้นของวันอื่นในสัปดาห์ ทั้งตั้งพัน ไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศประจำของ “พระราหุล” และยังเป็นองค์เจดีย์ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินอีสาน ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะ ของเทวดาประจำวันอาทิตย์ที่มีพละกำลังที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่หนึ่งเหนือผู้อื่น


image รูปภาพ
image
image
image
image

image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 247,578